สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 15-21พ.ค.60

สับปะรด

     ผลผลิต เพิ่มขึ้น

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดในเดือนพฤษภาคม 2560 ประมาณ 0.264 ล้านตัน หรือร้อยละ 12.93 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.040 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.174 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 51.58 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.205 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ร้อยละ 28.31

     การส่งออก เพิ่มขึ้น
          ปี 2560 (มกราคม-มีนาคม) มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.552 ล้านตันสด เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.550 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.21

     ราคา ลดลง 

          ช่วงนี้มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณวันละ 7,000 ตัน แต่คุณภาพผลผลิตไม่ตรงกับความต้องการของโรงงานแปรรูป และมีสับปะรดรอขายหน้าโรงงาน ประกอบกับผลไม้ชนิดอื่นทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคารับซื้อสับปะรดปรับตัวลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ มีดังนี้ 
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.63 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 5.62
และลดลงจากกิโลกรัมละ 10.42 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ ผ่านมาร้อยละ 58.06

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 11.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 11.48 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44 และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.87 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่
ผ่านมาร้อยละ 11.18

ข่าวรายสัปดาห์ 15-21 พ.ค. 60

ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
               ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
               ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
               ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
               ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
               ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 20.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
               ผลผลิตถั่วเหลืองของโลกปี 2560/61 คาดว่าจะมีปริมาณลดลง 3 ล้านตัน เป็น 345 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 1 จากปี 2559/60 สาเหตุจากผลผลิตต่อหน่วยของสหรัฐอเมริกาลดลง ทั้งที่พื้นที่เก็บเกี่ยวขยายเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 นอกจากนี้บราซิล และปารากวัย ก็มีปริมาณการผลิตลดลงเช่นกัน ซึ่งทำให้ผลผลิตในภาพรวมลดลงมากกว่าปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของจีน ซึ่งคาดว่าจะมีผลผลิตถั่วเหลืองสูงที่สุดในรอบ 6 ปี จากการขยายพื้นที่ปลูก รวมกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นของแคนาดา ส่วนผลผลิตของอาร์เจนติน่าค่อนข้างคงที่ใกล้เคียงกัยปี 2559/60 ทั้งนี้แม้ว่าในภาพรวมผลผลิตถั่วเหลืองจะลดลง แต่จากการที่อุปสงค์ของถั่วเหลืองของโลกมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะมีการนำสต็อกออกมาใช้มากขึ้น
               การนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองคาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 3 จากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของจีน สหภาพยุโรป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกกลาง
               ส่วนการส่งออกบราซิลและสหรัฐอเมริกายังคงเป็นประเทศที่ส่งออกถั่วเหลืองมากเป็นอันดับต้นของโลก 
               ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 972.33 เซนต์ ( 12.39 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 961.000 เซนต์ (12.29 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.18
               ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 314.93 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.92 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 312.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 10.87 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 33.06 เซนต์ (25.28 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 32.48 เซนต์ (24.91 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.78 
             
                 หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน
ข่าวสัปดาห์ 15 - 21 พ.ค. 60

 

 
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ  

  

               ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

               ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.98 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 6.02 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.66 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.33 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.49 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.56 ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.95 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.98 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.38 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.76 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.68 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.20 
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 241.75 ดอลลาร์สหรัฐ (8,293 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 240.50 ดอลลาร์สหรัฐ (8,280 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.52 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 13.00 บาท

  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ  

               กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2560/61 ว่ามี 1,062.30 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 1,053.59 ล้านตันในปี 2559/60 ร้อยละ 0.83 โดยสหรัฐอเมริกา
จีน สหภาพยุโรป บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อียิปต์ แคนาดา เวียดนาม อิหร่าน อาร์เจนตินา รัสเซีย และเกาหลีใต้ มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้น สำหรับการค้าของโลก มี 149.74 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจาก 146.06 ล้านตัน ในปี 2559/60 ร้อยละ 2.52 โดย บราซิล อาร์เจนตินา ยูเครน รัสเซีย สหภาพยุโรป ปารากวัย และแคนาดา ส่งออกเพิ่มขึ้น ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น เม็กซิโก สหภาพยุโรป เวียดนาม เกาหลีใต้ อียิปต์ อิหร่าน โคลัมเบีย แอลจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย และมาเลเซีย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น (ตารางแนบท้าย) 
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฎาคม 2560 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 368.72 เซนต์ (5,041 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 369.16 เซนต์ (5,065 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 24.00 บาท

ข่าวสัปดาห์ 15-21 พ.ค. 2560

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนกรกฏาคม 2560 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 82.05 เซนต์
(กิโลกรัมละ 62.82 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 77.61 เซนต์ (กิโลกรัมละ 59.63 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.72 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 3.19 บาท

15 - 21 พฤษภาคม 2560
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
               ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนและแปรปรวนส่งผลให้สุกรเจริญเติบโตช้า ผลผลิตออกสู่ตลาดไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าราคาจะสูงขึ้นเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
               สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 63.89 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.87 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.62 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 59.36 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 58.66 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.46 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.08 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,900 บาท (บวกลบ 69) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
               ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 69.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
               สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดค่อนข้างมาก ขณะที่ความต้องการบริโภคที่มีไม่มากนัก แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.42 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 38.83 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 45.52 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

          สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนแม่ไก่ออกไข่ไม่มากนัก ขณะที่ความต้องการบริโภคมีมากขึ้น เพราะสถานศึกษาได้ทยอยเปิดภาคเรียน แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 268 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 265 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.13 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 262 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 278 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 265 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 17.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่เป็ด

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 334 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 331 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.91 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 357 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 346 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 302 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 357 บาท 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

โคเนื้อ 
 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 97.52 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 97.70 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 92.19 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 100.37 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 95.75 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.46 บาท

กระบือ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.94 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 77.54 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.77 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.64 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 73.91 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

ข่าวสัปดาห์ 15-21 พ.ค. 2560
ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.18 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.93 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.59

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

ข่าวสัปดาห์ 15-21 พ.ค.60

ถั่วเขียว

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

               ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
               ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
               ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
               ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
               ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
               ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
               ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
               ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
               ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
               ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 756.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 752.25 ดอลลาร์สหรัฐ (25.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.53 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
               ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 609.75 ดอลลาร์สหรัฐ (20.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 606.50 ดอลลาร์สหรัฐ (20.88 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54 และสูงขึ้นรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.04 บาท
               ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 692.25 ดอลลาร์สหรัฐ (23.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 663.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.83 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.41 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.92 บาท

ข่าวสัปดาห์ วันที่ 15 -21 พฤษภาคม 2560

ไหม

          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,681 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,642 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.38
          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,354 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

          ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,037 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,028 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.88
ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
อ่านข่าวย้อยหลัง